วันพุธที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567

เนื้อเรื่อง Diablo 3 Reaper of Souls

 Tyreal ทำการก่อตั้งเหล่า Horadrim ขึ้นมาใหม่ และพยายามนำ Black Soul Stone ไปผนึกเก็บรักษาเอาไว้ แต่เทวดาแห่งความรู้ที่หายตัวไปนานหลายปีอย่าง Malthael กลับปรากฎตัวขึ้นและชิง Black Soul Stone

Tyreal ทำการก่อตั้งเหล่า Horadrim ขึ้นมาใหม่ และพยายามนำ Black Soul Stone ไปผนึกเก็บรักษาเอาไว้ แต่เทวดาแห่งความรู้ที่หายตัวไปนานหลายปีอย่าง Malthael กลับปรากฎตัวขึ้นและชิง Black Soul Stone

Malthael ประกาศเปลี่ยนตัวตนเป็น เทพแห่งความตาย และมีเป้าหมายในการใช้พลังของ Black Soul Stone  เพื่อทำลายทั้งมนุษยชาติและปีศาจให้หมดไป ด้วยพลังของ Black Soul Stone ทำให้ Malthael สามารถสังหารมนุษย์ไปได้จนเกือบหมดสิ้นเผ่าพันธุ์

แต่ฮีโร่ของเราก็บุกไปยับยั้ง Malthael เอาไว้ได้ โดยระหว่างการต่อสู้ Malthael ทุบทำลายศิลา Black Soul Stone และดูดซับเอาพลังของจอมปีศาจทั้ง 7 เข้าไปไว้ในตัว และเมื่อ Malthael ถูกสังหารก็ทำให้จอมปีศาจทั้ง 7 ถูกปลดปล่อยกลับไปยังขุมนรก

เนื้อเรื่อง Diablo 4

มนุษยชาติเกือบสิ้นเผ่าพันธุ์หลังเหตุการณ์ใน Reaper of Souls กาลเวลาผ่านไปนานหลายทศวรรษปี มนุษย์หลงเหลืออยู่เพียงแค่ 10% จากในอดีตและใช้ชีวิตอยู่กันอย่างยากลำบาก แม้อารยธรรมจะเริ่มฟื้นคืนกลับมาในบางพื้นที่ แต่โลก Sanctuary ก็ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป

เมื่อ Lilith มารดาของเหล่ามนุษย์ผู้ให้กำเนิดแผ่นดิน Sanctuary ได้หวนกลับคืนสู่ดินแดนแห่งนี้อีกครั้ง การต่อสู้ระหว่างมนุษย์ เทพ และปีศาจจึงได้เริ่มต้นขึ้น

อ่านบทความอื่นอื่น

อ่านบทความอื่นอื่น


เนื้อเรื่อง Diablo 1, 2

 


อาณาจักรถูกสร้างขึ้นในดินแดน Tristram โดยราชา Leoric เป็นผู้ครองบัลลังก์  และมีการก่อตั้งเมือง Tristram ขึ้นมา แต่อัครมุขนายกของอาณาจักรที่ชื่อว่า Lazarus กลับถูกครอบงำโดยอำนาจของ Diablo นำมาซึ่งการล่มสลายของราชวงค์ ตอนแรก Diablo พยายามครอบงำร่างของ Leoric แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ ทำให้ Leoric คลุ้มคลั่งจนถูกเหล่าอัศวินใต้การปกครองสังหารทิ้ง องค์ชายรองนาม Albrecht ก็ถูกลักพาตัวลงไปในเขาวงกต ขณะที่เหล่าอสูรบุกออกมาจากวิหารเพื่อไล่ล่าสังหารชาวบ้านใน Tristram

นักผจญภัยมากมายจากทั่วดินแดนเดินทางมายัง Tristram  เพื่อหวังช่วยเหลือเจ้าชาย Albrecht แต่สุดท้ายก็เป็นองค์ชายใหญ่ Aidan ที่เดินทางลงไปในเขาวงกตสังหาร Lazarus และจัดการกับ Diablo ได้สำเร็จ แต่ร่างของ Diablo กลับคืนสภาพกลายเป็นศพขององค์ชายรอง Albrecht พร้อมกับศิลาวิญญาณของ Diablo ทำให้ Aidan ผู้ถูกหลอกตัดสินใจฝังศิลาวิญญาณของ Diablo ลงกลางหน้าผากของตนหวังผนึกวิญญาณของ Diablo เอาไว้ในตัวเอง

เนื้อเรื่อง Diablo 2 และ Diablo 2: Resurrected

องค์ชาย Aidan ถูกครอบงำด้วยความมืดและอำนาจของ Diablo เขากลายเป็น Dark Wanderer นักเดินทางลึกลับผู้ออกเดินทางมุ่งหน้าไปยังทิศตะวันออกเพื่อตามหาอะไรบางอย่าง และทุกที่ที่เขาเดินทางผ่านไปเหล่าอสูรกายและปีศาจต่างหลุดออกมาจากนรกไล่สังหารผู้คนไปทั่วแผ่นดิน

ระหว่างการเดินทาง Dark Wanderer ได้รับตัวชายธรรมดาคนหนึ่งที่ชื่อ Marius ให้ร่วมเดินทางไปพร้อมกับตน และในฉาก CG ของเกมก็จะเป็นเล่าผ่านมุมมองของ Marius นี่เอง

Dark Wanderer ได้เดินทางไปปลดปล่อย Baal จากการขุมขัง (ด้วยความช่วยเหลือของ Marius) เดินทางกลับไปพบ Mephisto และใช้พลังของทั้งหมดเปิดประตูกลับไปยังนรกได้สำเร็จ

ฮีโร่ตัวเอกของ Diablo 2 ออกเดินทางไล่ล่า Dark Wander จดจัดการกับ Mephisto ลงได้สำเร็จ และไล่ตาม Diablo ไปถึงนรกก่อนจะโค่นเจ้าอสูร Diablo ลงได้เช่นกัน

ในภาคเสริม Lord of Destruction เจ้าอสูรตนสุดท้ายที่หลงเหลืออยู่อย่าง Baal ได้ออกเดินทางไปยัง Worldstone เพื่อหวังใช้พลังของศิลาโลกบวกกับศิลาวิญญาณของตนเองนำโลกเข้าสู่ความมืด

ฮีโร่ของเราเดินทางไปยังที่ซ่อน Worldstone และโค่น Baal ลงได้สำเร็จ แต่ Worldstone ได้ถูกครอบงำด้วยพลังของ Baal ไปแล้ว ทำให้เทวทูต Tyreal ตัดสินใจทำลาย Worldstone เมื่อไร้ Soulstone ในการกดทับพลังเหล่ามนุษยชาติบางส่วนจึงเริ่มได้รับพลังของ Nephalem กลับคืนมา

เนื้อเรื่อง Diablo 3

Belial และ Azmodan สองจอมอสูรที่เหลืออยู่ในนรกอาศัยพลังอำนาจของตนเองวางแผนเข้าครอบงำโลก Sanctuary ในขณะที่ Tyreal เบื่อหน่ายกับการที่เหล่าเทวดาไม่ยอมยื่นมือช่วยเหลือมนุษย์ทำให้ Tyreal ตัดสินใจละทิ้งความเป็นเทพของตนและตกลงมาบนโลกในฐานะมนุษย์ธรรมดา

Deckard Cain จอมเวท Horadrim คนสุดท้ายและหลานสาว Leah ออกเดินทางไปทั่ว Sanctuary เพื่อสืบหาข้อมูลหาทางยับยั้งภัยร้ายตามคำทำนายที่กำลังจะเกิดขึ้น

สุดท้ายแล้ว Cain เสียชีวิตด้วยมือของแม่มด Maghda ผู้รับใช้ของ Belial ทำให้ Leah กับ Tyreal รวมไปถึงเหล่าฮีโร่ในภาคนี้ต้องออกเดินทางหาทางยับยั้งภัยร้ายกันต่อไป

ทั้งหมดได้พบกับแม่มด Adria แม่ของ Leah ผู้อ้างว่าเธอฝาก Leah ให้ Cain เลี้ยงดูเพราะเธอออกเดินทางไปทั่วดินแดนเพื่อหาทางยับยั้งเหล่าปีศาจและจากข้อมูลของเธอ เธอได้รู้ว่าศิลาวิญญาณดำหรือ Black Soul Stone ของเหล่า Horadrim ที่ถูกซ่อนไว้ มีพลังในการกักขังเหล่าจอมปีศาจทั้ง 7 ตนเอาไว้ได้ และแม้จอมปีศาจทั้ง 5 จะถูกจัดการไปแล้ว แต่พวกมันไม่มีวันตายและสามารถฟื้นชีพกลับมาใหม่ได้เมื่อถึงเวลายกเว้นจะถูกผนึกเอาไว้ Adria บอกว่าเธอกักขังวิญญาณของจอมอสูรทั้ง 5 เอาไว้แล้ว หลงเหลือแต่เพียงวิญญาณของ Belial และ Azmodan

เหล่าฮีโร่ออกตามหา Black Soul Stone จนพบพร้อมกับจัดการสังหารและผนึกวิญญาณของ Belial และ Azmodan ลงไปในศิลาได้สำเร็จ

แต่เรื่องราวกลับเปิดเผยว่าแท้จริงแล้วทุกอย่างคือแผนการของ Adria และ Diablo เธอตั้งท้อง Leah กับ Dark Wanderer หรือ Diablo ในร่างมนุษย์เพื่อให้กำเนิด Leah ขึ้นมาเป็นภาชนะใหม่ที่สมบูรณ์แบบของ Diablo และด้วยพลังของจอมอสูรทั้งเจ็ดที่ถูกนำมารวมกัน Adria ทำพิธิบูชายัญให้ Diablo ในร่าง Prime Evil เข้าครอบงำ Leah กลายเป็นจอมอสูรอันทรงพลัง

Diablo เปิดประตูมิติบุกโจมตีสวรรค์ทันทีโดยที่เหล่าเทพไม่อาจต้านทานพลังอำนาจของ Diablo เอาไว้ได้

ฮีโร่ของเราบุกไปยังสวรรค์ตามล่า Diablo และสุดท้ายก็สามารถสังหาร Diablo ได้สำเร็จ ขณะที่วิญญาณของจอมอสูรทั้งหมดยังคงถูกผนึกเอาไว้ใน Black Soul Stone

อ่านบทความอื่นอื่น

อ่านบทความอื่นอื่น

สรุปเนื้อเรื่อง Diablo

 


จัดเป็นอีกหนึ่งตระกูลเกมที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน เนื้อเรื่อง Diablo นำเสนอเนื้อหาที่น่าสนใจ มีจักรวาลเกมที่อัดแน่นด้วยเรื่องราวและประวัติศาสตร์ ซึ่งอาจทำให้แฟนเกมทั้งหน้าเก่าและหน้าใหม่สับสนหรือตกหล่นเนื้อหาในบางส่วนกันไป

วันนี้เราเลยขอรวบรวมเนื้อหาสำคัญทั้งหมดของเรื่องราวในเกม Diablo มาเล่าสู่กันฟัง แฟนเก่าอ่านทบทวนความจำแฟนเกมหน้าใหม่อ่านพร้อมสนุกกับเกมภาคใหม่ได้ทันทีในสรุปเนื้อเรื่อง Diablo ฉบับครบถ้วนตัวนี้

กำเนิดจักรวาล

ก่อนกำเนิดจักรวาลและทุกสรรพสิ่ง ท่ามกลางความว่างเปล่ามีจิตวิญญาณที่ทรงภูมิปัญญาเพียงหนึ่งเดียวที่มีชื่อว่า Anu หลังเฝ้ามองความเป็นไปของความว่างเปล่าและสำรวจจิตใจตนเองอยู่นานแสนนาน Anu ต้องการละทิ้งส่วนที่ไม่สมบูรณ์แบบตัดด้านมืดที่ชั่วร้ายของตนเองทิ้ง Anu จึงลงมือโยกความชั่วทั้งหมดออกจากตนเอง

ความชั่วร้ายและด้านมืดของ Anu ก่อกำเนิดเป็น Prime Evil ตนแรกของจักรวาล ร่างกายของมันคือมังกรชั่วร้ายที่มี 7 หัวและมีนามว่า Tathamet

Anu เข้าต่อสู้กับ Tathamet อย่างดุเดือด การต่อสู้ของทั้งสองดำเนินไปอย่างเนิ่นนานจนสุดท้ายแล้วทั้ง Anu และ Tathamet ก็ถูกทำลายลงด้วยกันทั้งคู่ สันหลังของ Anu ได้กลายสภาพเป็น Crystal Arch ก่อกำเนิดเป็นศูนย์กลางของสวรรค์และให้กำเนิดเหล่าเทวดาออกมา ด้านร่างของ Tathamet ก็กลายเป็นเพลิงโลกันตร์กลายเป็นขุมนรกที่ให้กำเนิดเหล่าปีศาจ ส่วนหัวทั้ง 7 ก็ก่อกำเนิดเป็น 7 จอมอสูรแห่งนรก ส่วนดวงตาของ Anu ได้กลายเป็นศิลาสีแดงอันทรงพลังที่ถูกรู้จักกันในชื่อ World Stone

เหล่าเทวดาและปีศาจที่กำเนิดขึ้นมาเข้าต่อสู้กันทันทีตามความเกลียดชังดั่งเดิมของ Anu และ Tathamet สงครามระหว่างสองเผ่าพันธุ์ดำเนินไปอย่างไม่มีทีท่าว่าจะสิ้นสุด ไร้ผู้ชนะโดยสิ้นเชิง ไม่มีฝั่งใดสามารถทำลายอีกฝั่งได้อย่างสมบูรณ์ สงครามของเทพและปีศาจถูกเรียกขานในชื่อ The Eternal Conflict หรือสงครามนิรันด์ เป็นการต่อสู้ที่เหล่าเทพและปีศาจเชื่อว่าจะต้องดำเนินต่อไปตลอดการโดยไม่มีวันเปลี่ยนแปลง

ทั้งฝ่ายเทวดาและปีศาจต่างก็มีผู้นำของตนเอง โดยผู้นำจากฝั่งเทวดาคือสภาสูงที่ประกอบไปด้วยเทวทูต 5 ตนอันได้แก่ Imperius เทวทูตแห่งความกล้า Tyrael เทวทูตแห่งความยุติธรรม Auriel เทวทูตแห่งความหวัง Itherael เทวทูตแห่งชะตากรรมและ Malthael เทวทูตแห่งปัญญา

ส่วนฝั่งปีศาจก็มีผู้นำสูงสุดคือ 7 จอมอสูร Great Evils อันได้แก่ Prime Evil หรือ เจ้าอสูร 3 ตนที่เป็นผู้นำสูงสุดแห่งนรก Mephisto เจ้าแห่งความเกลียดชัง Baal เจ้าแห่งการทำลายล้าง และ Diablo เจ้าแห่งความกลัว ส่วน 4 จอมอสูรอันดับรองหรือ Lesser Evil อีก 4 ตนก็ประกอบไปด้วย Andariel อสูรสาวเจ้าแห่งความปวดร้าว Duriel เจ้าแห่งความเจ็บปวด Belial เจ้าแห่งการโกหก Azmodan เจ้าแห่งบาป

ในขณะที่สงครามและการต่อสู้ดำเนินไปอย่างไม่มีทีท่าว่าจะจบลง เทวดาตนหนึ่งนามว่า Inarius ได้เบื่อหน่ายในการต่อสู้ เขาร่วมมือกับ Lilith ปีศาจสาวผู้เป็นบุตรีของ Mephisto ขโมยเอาศิลา World Stone มาเพื่อใช้สร้างโลกใบใหม่ที่จะเป็นที่อยู่ของเหล่าเทวดาและปีศาจที่เบื่อหน่ายการต่อสู้  โลกดังกล่าวถูกเรียกว่า Sanctuary โดย Sanctuary ถูกซ่อนไว้จากสายตาของเหล่าปีศาจและเทวดาตนอื่น ๆ

ขณะที่เทวดาและปีศาจที่หลบหนีมาอยู่ในโลกใหม่ต่างสมสู่และได้ให้กำเนิดสิ่งมีชีวิตเผ่าพันธุ์ใหม่ขึ้นมา ลูกผสมของเทวดาและปีศาจถูกเรียกว่า Nephalem พวกเขามีพลังที่เหนือกว่าทั้งเทวดาและปีศาจ

Inarius และ Lilith ที่ใช้ชีวิตร่วมกันในฐานะคู่รักเกิดความขัดแย้งทางความคิดเมื่อเห็นศักยภาพของเหล่า Nephalem  ในขณะที่ Inarius เห็นว่าเหล่า Nephalem จะเป็นภัยร้ายต่อพวกตนและต้องการสังหารพวกเขาทั้งหมดฝั่ง Lilith กลับเห็นว่าพลังของ Nephalem สามารถใช้จบสงคราม Eternal Conflict  โดยทำลายทั้งนรกและสวรรค์ทิ้งไป ความขัดแย้งของทั้งสองจบลงที่เหล่าเทวดาและปีศาจใน Sanctuary ถูก Lilith สังหารจนหมดแต่สุดท้าย Inarius ก็สามารถผนึก Lilith เอาไว้ในมิติอันว่างเปล่าที่เรียกว่า The Void

Inarius ตัดสินใจใช้พลังของ World Stone ทำการกดทับพลังของ Nephalem เอาไว้ ทำให้ลูกหลานของ Nephalem มีพลังลดน้อยลงเรื่อย ๆ ในแต่ละรุ่น จนสุดท้ายเรื่องราวทั้งหมดก็เลือนหายไป ส่วนเหล่า Nephalem รุ่นหลัง ๆ ก็ได้กลายเป็นมนุษย์ที่ใช้ชีวิตอยู่ใน Sanctuary โดยไม่ได้รู้ถึงอดีตและชาติกำเนิดของพวกตน

(Nephalem รุ่นแรก ๆ กลายเป็นบุคคลในตำนานที่เป็นที่มาของ Class ต่าง ๆ ของเกม Diablo เช่น Babarian หรือ Necromancer)

 มหาสงครามแห่งบาป The Sin War

กาลเวลาผ่านไปเนิ่นนานในขณะที่มนุษย์ใช้ชีวิตอยู่บน Sanctuary มาเรื่อย ๆ วัฒนธรรมถูกสร้างขึ้น อาณาจักรขยายตัวไปทั่ว  Inarius ได้แฝงตัวและก่อตั้งศาสนาของตนเองขึ้นมาในชื่อ Cathedral of Light หรือวิหารแห่งแสง ส่วนทางด้าน Prime Evil หรือ เจ้าอสูรทั้งสามก็ได้แอบรับรู้ถึงการมีอยู่ของโลก Sanctuary และต้องการขยายอำนาจของตนมาครอบงำเหล่ามนุษย์จึงได้ก่อตั้งศาสนาของตนเองขึ้นมาเช่นกันในชื่อ Triune

ทั้งสองศาสนามีความขัดแย้งและต่อสู้กันแบบลับ ๆ ในเงามืดและสร้างความเดือดร้อนให้กับผู้คนทั่วไป  แต่ในช่วงเวลานี้เองมนุษย์ธรรมดาคนหนึ่งที่มีนามว่า Uldyssian ได้รับพลังของ Nephalem กลับคืนมา Uldyssian กลายเป็นผู้นำของเหล่ามนุษย์ที่ศรัทธาในตัวเขา นำไปสู่สงครามที่ Uldyssian นำทัพเพื่อโค่นล้มศาสนาสำคัญทั้งสองเหล่าหลัง Uldyssian ได้รู้ความจริงเบื้องหลังว่าเทวดาและปีศาจต้องการครอบงำมนุษย์

เรื่องราวเปิดเผยภายหลังว่า Lilith เป็นผู้อยู่เบื้องหลังการมอบพลังให้กับ Uldyssian เพื่อใช้เขาเป็นหมากในการเสริมพลังให้เหล่มมนุษย์และสร้างกองทัพที่จะล้มล้างสวรรค์และนรก แต่สุดท้าย Lilith ก็ถูกจัดการโดย Uldyssian และถูก Inarius ผนึกไว้ในมิติมืดอีกครั้ง

การต่อสู้ของ Uldyssian ทำให้เทวดาและปีศาจรับรู้ถึงการมีอยู่ของ Sanctuary นำไปสู่การต่อสู้ระหว่างมนุษย์ ปีศาจ และเทวดา แต่เพราะพลังอันมากเกินไปของ Uldyssian ที่เขาปลดปล่อยออกมาทำให้ Sanctuary มีความเสี่ยงที่จะถูกทำลาย เพื่อช่วยเหลือชีวิตทั้งหมดบนโลก Uldyssian ดึงพลังทั้งหมดกลับเข้าสู่ตนเองและสละชีวิตเพื่อปกป้อง Sanctuary เอาไว้

ผู้นำของทั้งปีศาจและเทวดาจึงตกลงทำสัญญาที่จะวางมือจาก Sanctuary โดย เหล่าสภาสูงตัดสินใจไว้ชีวิตมนุษย์หลัง Tyreal ลงคะแนนเสียงยับยั้งไม่ให้ทำลายมนุษย์เมื่อได้เห็นการสละชีวิตของ Uldyssian ส่วนฝ่ายปีศาจ นำโดย Mephisto ยื่นข้อเสนอขอรับตัว Inarius กลับไปกักขังทรมานในนรกเพื่อชดเชยที่เขาผนึก Lilith ลูกสาวของ Mephisto ไป

ทั้งปีศาจและเทวดาจึงไปจากดินแดน Sanctuary โดยการต่อสู้ที่เกิดขึ้นหลงเหลือแต่เพียงตำนานที่ถูกเล่าขานอย่างลับ ๆ มาถึงปัจจุบัน แต่แม้ฝั่งเทวดาจากสวรรค์จะตัดสินใจวางมือจาก Sanctuary ไปจริง ๆ แต่ เจ้าอสูรทั้งสามเล็งเห็นศักยภาพและด้านมืดของมนุษย์และเชื่อมั่นว่าดินแดน Sanctuary จะเป็นกำลังสำคัญในการต่อสู้กับเหล่าเทวดา

กำเนิดเหล่า Horadrim

ความหมกมุ่นในดินแดน Sanctuary และเหล่ามนุษย์ของ 3 เจ้าอสูรสร้างความไม่พอใจให้กับจอมอสูรทั้ง 4 ที่เหลืออยู่ สุดท้ายจอมอสูรทั้ง 4 จึงร่วมมือกันก่อสงครามและทำการขับไล่เจ้าอสูรทั้ง 3 มายังโลกมนุษย์  เจ้าอสูรทั้งสาม Mephisto เจ้าแห่งความเกลียดชัง Baal เจ้าแห่งการทำลายล้าง และ Diablo เจ้าแห่งความกลัวนำพาภัยร้ายมาสู่ดินแดน Tyreal จึงเดินทางลงมายังโลกและก่อตั้งกลุ่มจอมอาคมที่มืชื่อว่าเหล่า Horadrim ขึ้นมา โดยเป้าหมายของเหล่า Horadrim  ก็คือการผนึกเจ้าอสูรทั้งสามให้สำเร็จ

ศิลาวิญญาณหรือ Soul Stone ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นภาชนะในการผนึกอสูรทั้งสามตน  Mephisto คืออสูรตนแรกที่ถูกผนึกและศิลาวิญญาณของ Mephisto ก็ถูกฝากไว้กับนักบวชแห่ง Zakarum

Baal คืออสูรตนที่สองที่ถูกไล่ล่าและผนึกเอาไว้ แต่ระหว่างการต่อสู้ศิลาวิญญาณที่จะใช้ผนึก Baal เกิดแตกหัก ทำให้ Tal Rasha จอมเวทผู้นำของ Horadrim ใช้ร่างตนเองเป็นสื่อกลางฝังศิลาไว้กลางอกและผนึกทั้นตนเองและศิลาวิญญาณเอาไว้ใต้วิหารลับ

Diablo ถูกผนึกเป็นตัวสุดท้ายและศิลาวิญญาณก็ถูกฝังเอาไว้ในสุสานแห่งเขตแดน Tristram

อ่านบทความอื่นอื่น

อ่านบทความอื่นอื่น

วันอาทิตย์ที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567

กลยุทธ์สำคัญวันกิจการถดถอย

 คนที่ทำกิจการหรือธุรกิจ ตั้งแต่กางเต้นท์ขายหมูปิ้งยันเปิดโรงงาน ย่อมต้องทั้งลงทุน ลงแรง และมีเป้าหมายคือความรุ่งเรือง เติบโต แต่ถ้าผลลัพธ์มันไม่เป็นเช่นนั้น และกลายเป็นว่าวันนี้มันกำลังถดถอยล่ะ?…

สิ่งหนึ่งที่เราต้องไม่ลืมคือ ไม่ว่าการค้าหรือว่ากิจการใด แค่ได้เปิดดำเนินการ มันยังไม่เรียกว่าสำเร็จ และแม้จะเปิดมานานรุ่งเรืองจนรู้สึกว่าสำเร็จ ก็ไม่ได้หมายความว่าส่วนใหญ่จะ “ขายดีแล้วเลิก” กันเสียเมื่อไหร่ ยังไงก็ต้องดำเนินกิจการไปต่อ ดังนั้น วันนี้แม้จะดีอยู่วันหน้าอาจเจอวันที่กิจการมันกำลังถดถอยก็ได้…

อันที่จริงกลยุทธ์ธุรกิจ เขาก็มีอยู่ในเรื่อง กลยุทธ์การถดถอย (Retrenchment strategies) ตามตำราธุรกิจ หรือหากเคยเรียน MBA มาก็ต้องได้ศึกษาหลักการนี้ ทว่าใครล่ะจะอยากใส่ใจสนใจ ส่วนใหญ่เราก็มุ่งเป้าไปที่การเดินหน้า เติบโตกันทั้งสิ้น บางทีเคยเรียนมา อ่านมา ลืมไปเลยด้วยว่ามีเรื่องนี้อยู่ เอาเป็นว่าทบทวนกันก่อนสักหน่อย

กลยุทธ์การถดถอย (Retrenchment Strategy)

มีกลยุทธ์หลักอยู่ 3 ประการดังนี้ คือ

  • Turnaround Strategy (กลยุทธ์กลับตัวหรือปรับตัว)

  • Divestment Strategy (กลยุทธ์ถอนทุน)

  • Liquidation Strategy (กลยุทธ์ออกจากธุรกิจ, เลิกกิจการ)

หลักการส่วนใหญ่คล้ายกันแต่นิยามและคำอธิบายแตกต่างกันไปบ้าง ส่วนหนึ่งก็ตามยุคสมัยและการนำไปปรับใช้ สำหรับผมแล้วมองว่าทั้ง 3 กลยุทธ์ใช้เรียงตามความหนักเบาของการถดถอย รวมถึง “รู้ตัวหรือยัง?” ด้วย กล่าวคือ ถ้าธุรกิจเริ่มเป็นขาลง ลูกค้าเริ่มหดหาย หรือเห็นสัญญาณภาวะเศรษฐกิจประเทศ/โลก ไม่ค่อยดี อาจใช้การปรับตัว หรือกลับตัว (Turnaround) ก่อนได้ทันที เช่น ลดการประมาณการขาย ลดการสต๊อกสินค้า ลดพวกต้นทุนที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (sunk cost) ทำนองนี้จะช่วยยืดอายุกิจการได้ รออะไรให้ดีขึ้น หรือหาจังหวะปรับปรุงพัฒนาไปต่อ แม้กระทั่งสินค้าเริ่มไม่นิยม ก็เปลี่ยน หันไปทำสินค้าใหม่ที่มีอนาคต ก็ถือว่าเป็นการปรับตัวที่ไม่เลว

คิดง่าย ๆ ได้ว่าจะ ‘สู้ ถอย หรือ หนี’ นี่แหละกลยุทธ์

ดังที่บอกว่าแต่ละคนแต่ละตำราก็อาจตีความให้คำอธิบายที่แตกต่างกันบ้าง หรือมีกลยุทธ์หลากหลายกว่า 3 ข้อนี้ แต่ส่วนตัวมองว่ามันก็ครอบคลุมแล้ว หากมองออกในภาพรวม ซึ่งวิเคราะห์กันง่าย ๆ ทั้ง 3 ข้อมันก็คือการที่คิดแค่ว่าเราจะ สู้-ถอย-หนี (Turnaround-Divestment-Liquidation) นี่แหละกลุยุทธ์ เพียงแต่จะสู้ ถอย หนี มันก็ต้องมีชั้นเชิง…

อย่างข้อต่อมา การถอนทุน (Divestment) ก็ต้องเข้าใจว่ามันหนักเกินกว่าจะสู้ให้ชนะ หรือรู้ตัวช้าไปหน่อยเหมือนที่กล่าวไป ก็ต้องถอยมาบ้าง เคยยอดขาย 1 ล้าน เหลือ 5 แสน ก็ทำยังไงให้ 5 แสนยังคงเป็นกำไร มิใช่ยอดขาย 5 แสนที่ขาดทุนก็พอแล้ว อะไรทำนองนี้ เรียกว่าต้องยอมรับ หรือจากเช่าห้องใหญ่โตทำเลดี ก็ยอมย้ายไปห้องเล็กในซอย แต่ลุกค้าเก่ายังตามมา กิจการแม้ไม่ดีเท่าเดิมก็ยังเป็นกิจการที่ทำกำไร ถ้าในธุรกิจใหญ่ ๆ เขาก็เลือกขายบางส่วนธุรกิจไป เป็นต้น

สุดท้ายถ้าไม่ไหวก็ต้อง ออกจากธุรกิจ (Liquidation) ที่ทำได้หลายแบบ จะว่าไปก็หลายระดับด้วย ขึ้นอยู่กับว่า “เลิก” ตอนแย่แค่ไหน เช่น ถ้าขายกิจการต่อไปเพื่อควบรวมกิจการอื่น (เซ้ง) แนวนี้คนซื้อได้ประโยชน์ และเขาเห็นคุณค่า เราก็จะได้ราคา (ทุนคืน) มากหน่อย หรือ การแยกขาย ก็อาจได้ราคาดีเป็นบางอย่าง แต่เสียเวลาดำเนินการมาก ประมาณนี้คือการออกจากธุรกิจ

ส่วนหนึ่งพอนึกว่าธุรกิจถดถอย หลายคนมองแต่ต้องกำลังเลิกกิจการอย่างเดียว ที่จริงแล้วตรงกันข้าม มันคือกลยุทธ์ที่ไม่ได้จะเลิกแต่จะทำอย่างไรในภาวะเช่นนั้นให้ดีที่สุด เผื่ออาจจะกลับมาฟื้นตัว(ในธุรกิจใหม่) ก็ได้นะ สุดท้าย แม้จะเลิกกิจการ ขายธุรกิจ แต่เราก็ต้องคิดถอนทุนหรือหาประโยชน์ให้มากที่สุดก่อน เพื่อเริ่มต้นใหม่ต่อไป

ที่เขียนไปเป็นเพียงหลักการคร่าว ๆ แบบทำความเข้าใจ อันที่จริงหลายหลักการไม่เคยเก่า เพียงแต่เข้าใจแค่ไหน ประยุกต์ใช้ได้แค่ไหน รวมถึงต่อยอดได้แค่ไหน หลาย ๆ เรื่องที่ผมศึกษาก็มักจะพบว่าล้วนต่อยอดจากเดิมตามบริบทที่เป็นปัจจุบันเท่านั้นเอง ที่สำคัญใช้ประโยชน์ให้ได้ก็พอ

กลยุทธ์ที่สำคัญที่สุด

ส่วนหนึ่งบทความธุรกิจของผมคนที่อ่านส่วนใหญ่คือคน อยากทำกิจการ ทำธุรกิจ หรือเริ่มทำ รวมถึงน่าจะเป็นเจ้าของกิจการ ที่เมื่อกิจการถดถอยแล้วความรู้สึกจะแตกต่างจากนักบริหารมืออาชีพ หรือ CEO บริษัทใหญ่ ๆ ที่ไม่ว่าจะอย่างไรความผูกพันมันไม่เท่ากัน

เวลาสร้างความผูกพัน กับธุรกิจก็ไม่ต่างกัน

เพราะธุรกิจที่สร้างกับมือ ยิ่งทำมานาน มันเคยดี มันเคยให้อะไรเรามาหลายอย่าง แล้วมาถดถอยคงเป็นเรื่องที่ยากยอมรับ เพราะเวลาสร้างความผูกพัน กับธุรกิจก็ไม่ต่างกัน หรือต่อให้เป็นธุรกิจที่เพิ่งเริ่มไม่นานแต่กว่าจะสะสมทุน ต้องลงแรง มุ่งมั่นตั้งใจ แล้วผลไม่เป็นดังหวัง ความรู้สึกนั้นยากจะบรรยาย…

กลยุทธ์สำคัญในวันที่ธุรกิจถดถอยจึงเป็นการ “เข้าใจและยอมรับ” ซึ่งย้ำว่า ต้อง “เข้าใจ” ว่าเกิดอะไรขึ้น แล้วค่อย “ยอมรับ” ว่ามันไปต่อไม่ได้ ถ้ายังไม่เข้าใจแล้วยอมรับก่อนอันนั้นอาจเป็นแค่ “ยอมแพ้” ซึ่งไม่ควรยอมแพ้ง่าย ๆ นะครับ สู้ ๆ

ธุรกิจที่ปั้นมากับมือ ที่ใครไม่เป็นตัวเองมันยากจะเข้าใจ ถ้าคนมีหลายธุรกิจแล้ว ก็ประสบการณ์สูงแล้ว อาจเข้าข่ายมั่งคั่งแล้ว เสียบ้างเจ๊งบ้าง ทำตามกลยุทธ์ทั่วไปไม่ยากเย็นนัก แต่สำหรับคนที่เพิ่งมี เพิ่งสร้าง หรือมีธุรกิจเดียว การให้ทำตามกลยุทธ์ปกติเลยนั้นมันจะมีเรื่องของ “จิตใจ” มาเกี่ยวข้อง ก็ต้องพึงระวัง เพราะเราจะเอาอารมณ์มาเหนือเหตุผล

“การเข้าใจและยอมรับ” มันอาจไม่ใช่กลยุทธ์จริงจังอะไร แต่ถือเป็นหัวใจที่สำคัญยิ่งกว่าข้ออื่นใดในเวลาเช่นนี้…  ล้มแล้วต้องลุกใหม่ ไปต่อไม่ได้ ก็ต้องหาทางใหม่ เพราะหากตั้งสติได้เราก็น่าจะมีสมอง มีความคิดที่เลือกกลยุทธ์ที่ดีที่สุดสำหรับเวลานั้น ๆ ได้เช่นกัน เพราะไม่เช่นนั้น เวลาคนเราเสียใจ เราก็มักไม่อยากจะได้อะไรอีกเลย มันก็ยิ่งแย่กว่าเก่าว่าไหมละครับ..

ฝากไว้เป็นข้อคิดเล็ก ๆ ให้กัน ขอให้ทุกท่านโชคดี เขียนในช่วงที่ธุรกิจผู้เขียนถดถอยมาเป็นปีแล้วเช่นกัน

วันอาทิตย์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2567

เราในเวอร์ชั่นที่ดีที่สุด

 ในภาวะถดถอยของชีวิต ที่เราล้วนเคยประสบ ย่อมเป็นช่วงเวลาที่ เครียด, เหนื่อยหน่าย, เบื่อ, ท้อ, ผิดหวัง หรือ เสียใจ ภาวะต่าง ๆ เหล่านี้ที่เชื่อว่า “เรา ไม่อยากเป็นแบบนั้น” ซึ่งถ้ามองเห็นตัวเองได้ ก็คงอยากเป็น “ตัวเราในเวอร์ชั่นที่ดีที่สุด” มากกว่า

ก่อนอื่นคงต้องขออภัยกับบทความที่ใช้คำว่า เวอร์ชั่น (Version) ที่แปลว่า แบบ, รุ่น, ฉบับ ที่เมื่อเขียนแล้ว… เราในแบบที่ดีที่สุด, เราในรุ่นที่ดีที่สุด, เราในฉบับที่ดีที่สุด แม้จะพอเข้าใจได้ แต่ในปัจจุบันที่เป็นยุคดิจิตอล คำว่าเวอร์ชั่น น่าจะทำให้เข้าใจเห็นภาพกันได้ไม่ยาก

อารัมภบทอีกสักนิด(อ่านข้ามย่อหน้านี้เสียก็ได้) อันที่จริงบทความในหมวดหมู่นี้ต้องการเขียนให้เป็นแบบไม่จำกัดเวลา (timeless) คืออ่านเมื่อใด หรือปีไหนก็ได้ แต่ในช่วงโควิด-19 ที่รอบศตวรรษน่าจะมีวิกฤติแบบนี้สักครั้งมันส่งผลต่อความเป็นอยู่ของผู้คนมากมาย โดยอย่างยิ่งในด้านจิตใจ บทความนี้จึงมีส่วนอย่างมากจากการที่เห็นผู้คนมากมายได้รับผลจากวิกฤตินี้มา

ทุกวันนี้หลายคนยังแย่อยู่กับภาวะที่ “ไม่เหมือนเดิม” ไม่ว่าจะจากต้นเหตุใดก็ตาม สิ่งหนึ่งที่เราอาจไม่ทันคิดหรือไม่เคยคิดคือ ภาวะอารมณ์ถดถอยที่เราเป็นอยู่นี้ มันยากที่จะแก้ไขปัญหา หรือยากที่จะมีอารมณ์สร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ ให้ดีขึ้นมาได้ บนความไม่แน่นอน กับปัจจัยแย่ ๆ ที่ผ่านมาทำให้หลายคน บ้างก็ใช้ชีวิตไปวัน ๆ บ้างก็หาเพียงความสุขแบบหนีความจริง, แบบฉาบฉวยบ้าง, ซังกะตายบ้าง แต่ที่สำคัญคือหลายคน “หมดความมั่นใจ” ต่อทั้งความสามารถในตัวเองและสิ่งรอบตัว

แต่เมื่อลองหยุด… ทบทวนอีกด้าน ก็เชื่อว่าเราทุกคนต้องมีช่วงเวลาที่ภาคภูมิใจ ในแนวที่เรียกว่า ทำอะไรก็ดีไปหมด มีความมั่นใจ, ความทะเยอทะยาน, กล้าได้กล้าเสีย ไม่หวาดหวั่นอุปสรรค ไปจนถึง “ล้มก็ไม่เจ็บ” ในช่วงเวลาเหล่านั้นที่มักเรียกว่าช่วง “รุ่ง” ของชีวิต

ซึ่งหากทบทวนและจำช่วงเวลานั้นได้ อยากให้ลองนึกดูว่า แล้ว “ทำไมเราไม่กลับไปเป็นเราในตอนนั้น?” หรือ “ตอนนั้นเรามีความคิดหรือรู้สึกแบบไหนกันนะ” รวมแล้วคือ เราเคยเป็นคนที่ดีกว่านี้ เราเคยเก่งกว่าวันนี้ เราเคยทำได้มาแล้ว ทำไมเราไม่กลับไปเป็นเราในเวอร์ชั่นที่ดีที่สุดล่ะ?…

คงบอกไม่ได้ว่า “ตอนนั้น” ของแต่ละคนต้องเป็นอย่างไร คิดอย่างไร ทำอย่างไร แต่เชื่อว่าสิ่งหนึ่งที่เราต่างมีคือ “ความมั่นใจ” และ “ความเชื่อ” ในตัวเอง เหมือนเป็นไฟดวงหนึ่งภายใต้จิตใจที่เราทุกคนย่อมมี วันนี้มันเพียงดับไป ถูกหลงลืม กลืนหาย ลดค่าลงไป ด้วยภาวะ ปัจจัย ผลลัพธ์ที่ผิดพลาดใด ๆ ก็ตามในอดีตที่ผ่านมา หรือ เราในเวอร์ชั่นที่ดีที่สุด อาจเคยต้องมีตัวช่วย เป็นสิ่งแวดล้อมแบบหนึ่ง เป็นใครคนหนึ่ง หรือปัจจัยใดก็ตาม อย่างน้อยก็ทำให้เรารู้ว่าอะไรที่มันขาดหายไป อะไรที่ต้องการเติมเต็มในตอนนี้…

หากยังนึกไม่ออก ให้ลองจินตนาการภาพเด็กที่ไม่กลัวฝน ไม่กลัวเปียก กลับมองฝน มองการเปียกปอนเป็นเรื่องสนุกสนานด้วยซ้ำไป ช่างต่างกับวัยผู้ใหญ่ที่บางทีทำน้ำหกใส่เสื้อไม่กี่หยดก็หมดความมั่นใจได้แล้ว เด็กคนนั้นอาจเป็นเราในเวอร์ชั่นที่ดีที่สุดก็เป็นได้

เขียนบทความนี้ไป ก็ยังแอบคิดตามไปพร้อมกันได้ว่า มันใช้ได้กับแทบทุกเรื่องที่เรากำลังแย่ เพียงแค่คิดย้อนไป ถ้าเป็นเราในเวอร์ชั่นที่ดีที่สุด เราคิดอย่างไร เราตัดสินใจอย่างไร เราทำตัวอย่างไร อะไรทำให้เรามั่นใจในสิ่งต่าง ๆ เหล่านั้น?

เช่นนี้แล้ว ทันทีที่เรากำลังท้อแท้ ย่ำแย่ ถดถอย เพียงลองระลึกดูว่า ถ้าเราในเวอร์ชั่นที่ดีที่สุดกำลังอยู่ในสถานการณ์นี้ เราจะคิด, จะทำ, จะเป็นอย่างไร? หรือ บางทีเรื่องแย่ ๆ เหล่านี้ มันไม่สำคัญอะไรต่อ “เราในเวอร์ชั่นที่ดีที่สุด” เลย…

วันอังคารที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2567

ความรัก กับ ชีวิตคู่

ถ้าบอกว่า “ชีวิตคู่ มันไม่ใช่แค่รักกัน” คนที่เคยผ่านประสบการณ์อะไรมาบ้างย่อมพยักหน้า หรือ ประโยคที่ว่า “พออยู่ด้วยกัน มันไม่เหมือนแค่ตอนเป็นแฟนกัน” อาจทำให้พอเข้าใจบางอย่างได้ดีขึ้น…

นี่ไม่ใช่เรื่องที่ดูมีประโยชน์ หรือ น่าสนใจอะไรกับผู้ที่ “เคยผ่านภาวะต้องเข้าใจ” มาแล้ว แต่คนที่ไม่เคยหรือย้อนนึกไปตอนที่เรายังไม่เจอเหตุการณ์ ประสบการณ์ หรือบทเรียนที่ทำให้เราเข้าใจ มันเป็นเรื่องที่ยากจะมองเห็นหรือรู้ตัวได้ในตอนนั้น…

หลายคู่แรกเริ่มคบกันต่างเคยมีเวลาให้กัน ได้คลุกคลีอยู่ด้วยกัน แต่ทุกอย่างมีเวลา มีขั้น มีภาวะของมัน และบนคำว่า “ชีวิตคู่” นั้นก็สรุปยากว่ามันเริ่มตรงไหน ส่วน “ชีวิตรัก” นั้นมันต่างกันอย่างไร อยู่ด้วยกันไม่ต้องรักกันแล้วงั้นหรือ อะไรคือความต่าง?

ช่วงที่ดีที่สุดของการคบกัน

ผมจำเหตุการณ์หนึ่งได้ดี ที่เป็นครั้งแรกทำให้ฉุกคิดมุมนี้ ตอนนั้นเป็นสมัยเรียนมัธยม จำไม่ได้ว่าบทสนทนานี้เริ่มจากตรงไหน แต่มีเพื่อนคนหนึ่งถามครูคณิตศาสตร์ (ผู้หญิงสถานะโสด) ว่าทำไมครูยังไม่แต่งงาน (ที่จริงก็แอบซุปซิบกันว่าครูคนนี้คบกับครูอีกท่านหนึ่งอยู่) ครูตอบว่า “แต่งทำไม มีแต่แฟนนี่ดีที่สุดแล้ว…” ครูพูดไปยิ้มไปอธิบายทำนองว่า ภาวะเป็นแฟน เราจะงอนเขาก็ง้อ อยากได้อะไรเขาก็จะตามใจ ยิ่งตอนมาจีบ ได้ทุกอย่าง ครูพูดเหมือนติดตลกว่า “ไม่แต่งหรอกมีแฟนไปเรื่อย ๆ ดีกว่า” เพื่อนร่วมชั้นส่วนใหญ่ก็คล้อยตามถึงข้อดีรวมถึงผม ทั้งที่ในเวลานั้นเราล้วนไม่มีประสบการณ์อะไรเรื่องเหล่านี้กันมากนัก

ยากจะปฏิเสธว่านี่คือช่วงที่ดีที่สุดของการคบกัน อาจสรุปไม่ได้ทางภาษาว่าช่วง “เป็นแฟน” เพราะเราใช้คำว่า “แฟน” ได้ในทุกสถานะ แต่คงเข้าใจไม่ยากว่าคือช่วง “ใหม่ ๆ” ซึ่งก็ตัดสินไม่ได้อีกต่างหากว่า “ยังใหม่” ใช้เวลานานเท่าใด บางคู่ เพียงเดือนเดียว บางคู่เป็นปี อยู่ที่การใช้เวลา การมีระยะต่อกัน และนิสัยใจคอของแต่ละฝ่าย

ช่วงเวลาที่ดีที่สุด คือช่วงเวลาที่อันตรายที่สุด”

แต่ช่วงนี้คือช่วงที่ต่างทั้งมีอารมณ์ลุ่มหลง ต่างดื่มด่ำ ต่างมองแต่สิ่งดี ๆ ต่างพร้อมที่จะให้ และยอม ซึ่งหากพิจารณาแล้วสิ่งที่แสดงออกในตอนนั้นมีหลายเรื่องที่อาจเป็นสิ่งชั่วคราว และนั่นจึงทำให้ช่วงเวลาที่ดีที่สุด คือช่วงเวลาที่อันตรายที่สุดด้วยเช่นกัน

ชีวิตรัก กับ ชีวิตคู่

กล่าวกันแบบไม่คิดมากทางข้อจำกัดของภาษา “ชีวิตรัก” คือการใช้ชีวิตร่วมกันในช่วงภาวะที่มีอารมณ์ความรู้สึกเกี่ยวข้องสูงและเพิ่งคบกันไม่นาน ส่วน “ชีวิตคู่” คือการใช้ชีวิตในภาวะที่ปกติแบบชีวิตต้องดำเนินไป ใช่ว่าสองแบบนี้จะแยกกันขาดชัดเจนหรือเป็นขั้วตรงข้ามกัน แต่น้ำหนักของบางอย่างจะเปลี่ยนแปลงและเปลี่ยนไปได้เสมอ

ช่วงชีวิตรัก : เหตุผล และปัจจัย ของตัวเราจะน้อยกว่าหรือบางทีแทบจะไม่มีเลย ลืมไปเลย พร้อมจะยอม จะมอบ จะแบ่งให้เขา ความสำคัญของเรื่องอื่น/คนอื่นดูจะน้อย

ช่วงชีวิตคู่ : จะเต็มไปด้วยเหตุผล ปัจจัยที่จำเป็น เริ่มต้องการบางสิ่งมากขึ้น หรือคาดหวังบางอย่างจากอีกฝ่ายเหมือนเดิม แต่ฝ่ายตัวเองไม่สะดวกมอบให้เท่าเดิม ความสำคัญเรื่องอื่น/คนอื่น เริ่มมีมาก

ภาระผูกพันต่อคำว่า “สม่ำเสมอ” หรือ “เปลี่ยนไป”

นี่คือภาพรวม ๆ ที่ดูแล้วชีวิตคู่ดูแย่จังเลย แต่หากพิจารณามันอาจไม่ใช่และควรจะเป็นเช่นนั้นจริง ๆ เพราะชีวิตรักเป็นเพียง “ส่วนหนึ่ง” ของชีวิตอยู่แล้ว เป็นช่วงหนึ่งที่เราให้เวลาให้น้ำหนัก ให้ความสำคัญกับความรักไปมาก การเปลี่ยนแปลงที่ตามมาอาจทำให้เราหรืออีกฝ่ายรับไม่ได้ เมื่อถูกเปรียบเทียบกับช่วงเวลาอื่น หรือเวลาผ่านไป มันย่อมต่างกันสิ้นเชิง ถึงได้กล่าวว่า “อันตราย” เพราะยิ่งสร้างไว้ ยิ่งให้ไว้ ยิ่งสัญญา ยิ่งส่งมอบ มันอาจหมายถึงภาระผูกพันต่อคำว่า “สม่ำเสมอ” หรือ “เปลี่ยนไป” ซึ่งหากโชคดีเจอคนที่เข้าใจการเปลี่ยนแปลงปัญหาคงน้อยหรือยากจะเกิด

หากมองกันมุมหนึ่ง เมื่อเรามีเป้าหมาย ในที่นี้อาจหมายถึงแฟน/คนรัก จึงมุ่งให้ได้มา พยายามทำให้ดี ย่อมต้อง Focus ทุ่มเท ใส่ใจ เมื่อได้มาแล้ว ธรรมชาติคนเราก็ควรไปทุ่มเท ใส่ใจให้เรื่องอื่นบ้าง เพราะชีวิตไม่ได้มีด้านเดียว

แต่แม้จะ “ด้านเดียว” แต่ก็เป็น “ด้านหนึ่ง” ที่สำคัญ การเปลี่ยนแปลงแบบแตกต่างไปโดยสิ้นเชิงย่อมสร้างปัญหา ไม่ว่าจะแค่การปฏิบัติต่อกัน หรือ บุคลิกนิสัยที่ไม่เคยรู้ไม่เคยแสดง ภาระหน้าที่ที่ซ่อนเร้น ไปจนถึง เป้าหมายของชีวิตที่แตกต่างกันโดยที่ไม่เคยได้แชร์หรือพูดคุยกัน ซึ่งเรื่องเหล่านี้กำลังหมายถึง “ชีวิตหนึ่ง”


“ทำไมเธอไม่ส่งเสริมฉัน? ทำไมเธอต้องถ่วงฉัน? ทำไมเธอถึงเอาแต่ใจ?” อะไรทำนองนี้คือปัญหาปลายเหตุ… “สมัยเป็นแฟนกันเหมือนงานจะไม่เคยมาก่อน?” ข้อเท็จจริงในใจอาจเป็น “ก็เรื่องแฟนสำเร็จแล้ว เรื่องงานก็ควรจะสำเร็จด้วย” หากฝ่ายหนึ่งมองว่าความสัมพันธ์ต้องมาก่อน และอีกฝ่ายมองว่า หน้าที่การงานก็สำคัญต่อชีวิต กล่าวเช่นนี้เราอาจเห็นในเหตุผล หรือ “ต้นตอ” ของปัญหา แต่ภาวะจริงเรามักไม่ได้พูดกันในจุดนี้ มันเริ่มระหองระแหงกันง่ายกว่านั้น แค่มีเวลาให้น้อยลง โทรไป/ส่งข้อความไป แล้วตอบไม่รวดเร็วอย่างเคย นำพาไปทะเลาะกันไปเรื่องอื่นบานปลาย…

นี่เป็นเพียงตัวอย่างเดียว และเป็นเพียงหนึ่งในต้นตอมุมคิดที่แตกต่าง เมื่อ “ชีวิตหนึ่ง” ต้องร่วมกับอีกชีวิตหนึ่ง ด้านรัก ที่หันหากันได้แล้ว ต้องต่อสู้กับ ด้านชีวิตอีกหลายด้าน ทั้งภาระ ปัจจัย เป้าหมาย ที่สำคัญ “ความเปลี่ยนแปลง” ทั้งดี ทั้งร้าย ทั้งจากเรา ทั้งจากเขา ทั้งจากสังขาร…

หากบรรยายหรือยกตัวอย่างทุกปัจจัยความเป็นไปได้ ลงรายละเอียดคงเขียนได้เป็นเล่ม ๆ แต่ขมวดปมลงไปมันอาจรวมได้ว่า “ช่วงชีวิตรักเราอาจมีเป้าหมายเดียว” มันจึงดูดี ดูง่าย (ถ้าแค่เริ่มดูไม่ดีดูยาก ก็เสี่ยงกันเอานะ) แต่ช่วงชีวิตคู่ เป้าหมายมากขึ้น ทั้งของเรา ทั้งของเขา เป้าหมายมาก ภาระมาก ปัจจัยมาก องค์ประกอบมาก ตัวละครมาก ยิ่งอยู่ไป การเปลี่ยนแปลงยิ่งมาก บนการตัดสินใจ… ที่มีอีกคนเกี่ยวข้อง ถ้าเข้าใจง่าย ก็ตัดสินใจง่าย ถ้าไม่ยอมเข้าใจ ก็ยาก ถ้าเอาแต่ฝ่ายตัวเอง ก็พัง มันก็เท่านี้จริง ๆ

เพราะการได้มา เราอาจมองว่ายาก แต่การรักษาให้อยู่ตลอดไป ยากกว่าเสมอ…

วันศุกร์ที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

ມືອາຊີບ ບໍ່ແມ່ນພຽງແຕ່ມີອາຊີບ

 

    ຄຳວ່າ ມືອາຊີບ ເບື້ອງຕົ້ນເຮົາຈະນຶກເຖິ່ງຄົນທີ່ ເກັ່ງ ຄ່ອງແຄ່ວ ຫຼື ຕັ້ງໃຈ ຍິ່ງຖ້າເຈິບັນຫາຫນ້າງານ ຫຼື ເຫດການບາງຢ່າງເຮົາຈະຮູ້ໄດ້ທັນທີວ່າ ຄົນທຳມະດາ ຫຼື ມືອາຊີບ ແຕ່ເມື່ອຄິດເບິ່ງແລ້ວເຮົາອາດຈະບໍ່ເຄີຍຕີກອບເລີຍວ່າ ມືອາຊີບ ທີ່ຈິງແລ້ວຄວນມີຄຸນສົມບັດແນ້ວໃດ?
    ມືອາຊີບບໍແມ່ນເລື່ອງເກັ່ງ ມີຄວາມຮູ້ຫລາຍ ຫລື ພຽງແຕ່ຕັ້ງໃຈ
    ສິ່ງແລກທີ່ຮູ້ສຶກໄດ້ວ່າໃຜເປັນມືອາຊີບຫລືບໍ່ນັ້ນ ຍ່ອມເກີດເມື່ອໄດ້ຮ່ວມງານ ປະສານງານກັນ ຫລື ມີປະສົບການຮ່ວມງານກັນ ເຫລົ່ານັ້ນເຮັດໃຫ້ເຮົາພົບວ່າ ບາງຄົນທີ່ເບິ່ງວ່າ ເກັ່ງ ພໍຮ່ວມງານກັນກໍ່ບໍ່ເປັນມືອາຊີບເອົາເສຍເລີຍ ຫລືເຂົາຫນ້າຈະຮູ້ໃນບາງເລື່ອງ ແຕ່ກັບບໍ່ຮູ້ ຫລື ອາດຈະເບິ່ງຄື ຕັ້ງໃຈ ພະຍາຍາມ ແຕ່ກັບແກ້ບັນຫາບໍ່ໄດ້ ຈົບງານບໍ່ໄດ້ ຫລືອາດຈະເຮັດໃຫ້ວຽກງານມັນຍຸ້ງຍາກຂື້ນ. ນີ້ຈຶ່ງເປັນເຫດຜົນວ່າ ມືອາຊີບ : ບໍ່ແມ່ນເລື່ອງເກັ່ງ ມີຄວາມຮູ້ຫລາຍ ຫລື ພຽງຕັ້ງໃຈ ມືອາຊີບຈະມີບາງຢ່າງທີ່ສະທ້ອນມາໃຫ້ສຳພັດໄດ້ ແລະ ໂດຍສສ່ວນໂຕແລ້ວນີ້ຄືຄຸນສົມບັດຂອງມືອາຊີບ.
ມືອາຊີບຄື
    ຄົນທີ່ພ້ອມ ແລະ ຄົນທີ່ເຂົ້າໃຈ ເປັນການສະຫລຸບແບບກະຊັບ 2 ປະການເທົ່ານັ້ນສຳຫລັບມືອາຊີບ ແລະ ສາມາດຂະຫຍາຍຄວາມໃນຄຳວ່າ ຄວາມພ້ອມ ແລະ ຄວາມເຂົ້າໃຈ ແຕ່ລະສ່ວນດັງນີ້.
ຄວາມພ້ອມ 1 ວາງແຜນກຽມແຜນມາດີ
ຄວາມພ້ອມ 2 ພ້ອມຮັບສະຖານະການ
ຄວາມພ້ອມ 3 ຮຽນຮູູ້
    ໂດຍລວມແລ້ວ ຄວາມພ້ອມ ຄືໂຕແທນສະແດງພື້ນຖານຂອງມືອາຊີບໄດ້ດີ ເພາະເຊື່ອວ່າ ການກຽມໂຕ ເຄື່ອງມືທີ່ນຳມາ ຫລື ອົງຄວາມຮູ້ໃນຕອນທີ່ຮັບຟັງບັນຫາ ການຫາທາງອອກ ມັນກໍ່ບອກເຮົາແລ້ວວ່າ ໃຜເປັນມືອາຊີບ ຫລື ບໍ່ແມ່ນມືອາຊີບ ແຕ່ເທົ່ານີ້ອາດຍັງບໍ່ພໍ ມືອາຊີບຕ້ອງມີ ຄວາມເຂົ້າໃຈ ຮ່ວມດ້ວຍ.
ຄວາມເຂົ້າໃຈ 1 ການປະສານງານ
ຄວາມເຂົ້າໃຈ 2 ໃນຈະລິຍະທຳ
ຄວາມເຂົ້າໃຈ 3 ອາລົມ
    ທີ່ເວົ້າໄປຫນ້າຈະພໍເຫັນຮອດຄຸນສົມບັດສຳຄັນຂອງມືອາຊີບທີ່ຫາກຕິດຕາມກໍ່ພໍນຶກອອກໄດ້ວ່າເຮົາເຄີຍເຫັນສະຖານະການກັບຜູ້ຄົນຫລາກຫລາຍອາຊີບ ຕັ້ງແຕ່ຜູ້ຮ່ວມງານ ຜູ້ຮັບຈ້າງ ທີ່ຫາກມີແນ້ວຄິດ ພຶດຕິກຳ ຫລື ການເຮັດວຽກບໍ່ໄດ້ເປັນໄປຕາມທີ່ເຮົາຄິດເຮົາຈະເບິ່ງວ່າເຂົາບໍ່ແມ່ນມືອາຊີບ.
ສົນໃຈອ່ານເພີ່ມເຕີມ แทงบอลออนไลน์